วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์


การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในยุคไอที


การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ 
การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในยุคไอที
ฟาฏินา วงศ์เลขา
จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 ม.ค. 53
          ปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากกระแสที่มาแรงทำให้หลายประเทศทั่วโลกต่างก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาร่วมพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ณ วันนี้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ WWW (World Wide Web) ได้ก้าวมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมถึงการถ่ายทอดวิชาความรู้ นับเป็นการเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
article050153.jpg
          ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานพอสมควร โดยเริ่มต้นตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ ต่อมาได้พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ที่เรียกว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายแห่งได้หันมาใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกชื่อกันแตกต่างหลากหลาย เช่น WBI (Web Based Instruction) WBL (Web Based Learning) หรือ WBT (Web Based Training)  เป็นต้น ที่เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนเพื่อรับส่งข้อมูล เนื้อหาความรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และได้รับการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning (Electronis Learning) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ
          การเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning มีความโดดเด่นที่เห็นได้ชัดเจน เช่น มีความยืดหยุ่น คือ ผู้สอนสามารถปรับปรุงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา และสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้เรียนที่สามารถเรียนได้โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ โดยเฉพาะในปัจจุบันสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ง่ายมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตลดลง อีกทั้งประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพราะผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปสถานศึกษาหรือที่ทำงาน และที่สำคัญสามารถประเมินผลได้ทันทีว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้หรือไม่
          คุณภาพของการเรียนการสอนแบบ e-Learning นั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างหลักสูตรหรือเนื้อหาที่ต้องเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน เข้าใจง่าย ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องไปคิดพึ่งพาผู้สอน  ต้องให้ผู้เรียนได้อ่านและฝึกฝนตำราให้ครบตามแผนที่วางไว้ มีแบบทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจทีละขั้นตอน จนแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจตามเนื้อหาจนครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักสูตร และหัวใจสำคัญที่สุดคือจะต้องมีการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเอง
          ถ้าพูดถึงการฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์  คงไม่อาจมองข้ามศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของซีมีโอ (SEAMEO INNOTECH)  เพราะถือเป็นองค์กรที่สามารถสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ได้ในระดับมืออาชีพ และมีหลักสูตรที่หลากหลาย เช่น ICeXCELS, SUPEReXCELS, TECHeXCELS,  TEACHeXCELS  เป็นต้น
          “PEACeXCELS”  ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ที่น่าสนใจ ที่ศูนย์ SEAMEO INNOTECH  กำลังจัดฝึกอบรมให้กับผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาและผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการส่งเสริมสันติวัฒนธรรม และการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลักสูตรนี้มีผู้แทนของประเทศไทยเข้าร่วม 3 คน คือ นายยุทธนา ศรีจำปา รองผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม จังหวัดชัยภูมิ นางมะลิ  พึ่งสถิตย์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสุโขทัยโปลีเทคนิค จังหวัดสุโขทัย และนางฟาฏินา วงศ์เลขา ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และลาว
          ในการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว ทางศูนย์ SEAMEO INNOTECH ได้ส่งรหัสประจำตัว (Password)  สำหรับเข้าสู่โปรแกรม i-FLEX  พร้อมเอกสาร และ VCD ประกอบการฝึกอบรมไปให้ทุกคนได้ศึกษาเรียนรู้ล่วงหน้า   มีการติดต่อผ่านทางอีเมล์ (E-Mail: Electronics Mail)  เพื่อยืนยันความพร้อมเป็นระยะ ๆ  และมีการทดลองระบบก่อนมีการปฐมนิเทศสร้างความเข้าใจให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม   โดยกำหนดให้มีการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อประเมินระดับความรู้  และทำแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัดความก้าวหน้าหลังการเรียนจบในแต่ละเล่ม    ทั้งนี้ หลักสูตรกำหนดวันเวลาให้ทุกคนออนไลน์พร้อมกันภายใต้หัวข้อ MyChat สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  เพื่อร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์  โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  กลุ่มละ 10 คน  ซึ่งผู้ฝึกอบรมสามารถโต้ตอบกับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาจากประเทศต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์  อีกทั้งผู้ฝึกอบรมจะต้องมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นภายใต้หัวข้อ MyForum  ที่อาจารย์หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นผู้กำหนดขึ้น  นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  เช่น วีดิโอ  วารสาร  งานวิจัย  ความคิดเห็นของบุคคลต่าง ๆ  เป็นต้น  และที่สำคัญทุกคนจะต้องส่งการบ้านเมื่อเรียนจบแต่ละเล่มด้วย  สุดท้ายจะมีการประเมินผลว่าผู้เรียนจบหลักสูตรหรือไม่  โดยพิจารณาจากการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหลักสูตร PEACeXCELS  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
          การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสื่อการเรียนรู้ที่สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน  ทั้งในเรื่องของเวลา  สถานที่  และค่าใช้จ่ายที่ลดลง  จึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับการศึกษาในยุคไอทีที่โลกไร้พรมแดน  ดังที่ปัจจุบันหลายประเทศได้พัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล  ด้วยแนวคิดที่ว่า e - Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนนั่นเอง

(ที่มา http://social.obec.go.th/node/79)

รู้จัก Google Plus Hangout


เรื่อง IT วันนี้ อาจมีผู้สงสัยว่า Google Plus Hangout คืออะไร Hangout คือมันเป็นเครื่องมืออีกตัว ที่ google นำมาให้ผู้ใช้ Google+ ได้ใช้พบปะสนทนากับผู้อื่นแบบเห็นหน้าผ่านกล้องเว็บแคม และสามารถพูดคุยกันผ่านไมโครโฟน ถือเป็นความสามารถไม่ธรรมดาจริงๆ เพราะผู้ใช้ Google+ สามารถพบปะสนทนาผ่านกล้องและไมโครโฟน ได้พร้อมๆกันสูงสุดถึง 9 คนเลยทีเดียว

ประโยชน์ของ hangout

  • พบปะพูดคุยกับเพื่อน หรือญาติ หรือคนอื่นๆที่อยู่ต่างถิ่น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ประชุมเรื่องงานกันผ่าน hangout ได้ เหมาะสำหรับพนักงานบริษัทใดๆ ที่มีสาขาอยู่หลายที่
  • สอนออนไลน์กันได้ที่บ้าน และผู้เรียนก็เรียนกันอยู่ที่บ้าน อย่างสบาย
  • นัดกับเพื่อนๆมาติวหนังสือกันออนไลน์ นั่งติวอยู่บ้าน ประหยัดเวลาเดินทางได้
  • และอื่นๆ ลองนำประยุกต์ใช้ดูตามความเหมาะสม
google plus hangout

การใช้งาน Google Plus Hangout

  • คลิกที่ปุ่ม เริ่มแฮงเอาท์ ที่มีภาพไอคอนวิดีโอ ทางด้านขวาในหน้า Google Plus
  • สำหรับผู้ใช้ครั้งแรก จะต้องติดตั้งปลั๊กอิน ใช้เวลาไม่ถึงนาที เสร็จแล้วใช้งานได้เลย
  • เมื่อหน้าต่างมีข้อความบอกว่า ขอบคุณที่ติดตั้ง การแชทด้วยเสียงและวิดีโอแชท ของ Google ให้กดปิด
  • หน้าต่าง คุณกำลังจะเข้าแฮงเอาท์ คุณมาถึงที่นี่เป็นคนแรก และเราจะเห็นเราในกล้องวิดีโอ กดปุ่มเข้าร่วม
  • จากนั้นก็เข้าไปชวนคนอื่นๆที่อยู่ในแวดวงมาคุยกันได้ทันที

ความหมายของคำว่า Hangout ภาษาอังกฤษคือการได้ใช้เวลาส่วนร่วมกับใครคนอื่น หรือกับหลายๆคนซักคน ส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึงลักษณะการออกไปพบปะเฮฮากับกลุ่มเพื่อนๆ หรือญาติๆ เป็นต้น จะหมายถึงความรู้สึกเบิกบานมากกว่า ไม่ใช่ความเศร้าโสกเสียใจ
Hangout ใช้ได้กับ Smartphone Android version 2.3 ขึ้นไป หากโทรศัพท์ของท่านที่ต้องการใช้ Hangout มี Google+ App อยู่แล้ว ควรจะไป update software ที่ google play ก่อนใช้

(ที่มา http://www.rimnam.com/IT/Google-Plus-Hangout.html)

การเรียนรู้ด้วยวิดีโอการสอน

การเรียนรู้ด้วยวิดีโอการสอน

การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือซอฟท์แวร์ต่างๆ จากวิดีโอ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้เร็วขึ้น สามารถศึกษาซ้ำได้ตามต้องการ ในปัจจุบันเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะ youtube.com มีวิดีโอสอนการใช้งานโปรแกรมมากมายที่คุณสามารถศึกษาเองได้ ทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการจะเรียนรู้


วิดีโอ คือ มัลติมีเดียที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายได้ การนำเสนอวิดีโอมีหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอเพื่อการศึกษา วิดีโอเพื่อความบันเทิง ประโยชน์ของวิดีโอมีมากมาย นอกจากให้ความรู้ ให้ความบันเทิง ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน เช่น วิดีโอนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น




การทำงานของวิดีโอมีหลายประเภทซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้เข้าใจและสามารถเรียนรู้พร้อมกับสร้างวิดีโอได้ด้วยตนเองคุณจึงไม่ควรรอช้าที่จะทำความรู้จักกับการสร้างวิดีโอด้วยตนเองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยวิดีโอสามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการสอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้นภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง
การสร้างงานวิดีโอ แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึก ภาพเหตุการณ์ แสง สี เสียง จากสถานที่จริง ซึ่งอุปกรณืที่ใช้ทำการบันทึกวิดีโอประเภทนี้ คือ กล้องวิดีโอ แล้วสามารถนำมาตัดต่อภาพและเสียง ด้วยโปแกรมสร้างงานวิดีโอ เพื่อให้วิดีที่บันทึกมีความสมบรูณ์ ไร้ความผิดพลาดขณะทำการถ่ายทำ โปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS โปรแกรม Sony Vegus
2.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างงานวิดีโอประเภทสื่อการสอนมัลติมีเดีย ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI การสร้างงานวิดีโอชนิดนี้จะมีลักษณะการทำงานโดยการบันทึกภาพและเสียงขณะทำการสอนบรรยายผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เช่นการสอนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Step by Step การสอนโดยนำเสนอทาง Powerpoint โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ hypercam , camtasia เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างวิดีโอ
ควรเลือกเครื่องที่เสป็คต้องแรง ซีพียูความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะการจัดการกับไฟล์วิดีโอที่มีขนาดใหญ่ หากใช้เครื่องที่เสป็คต่ำ การตัดต่อวิดีโอจะช้ามาก การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เป็นโน้ตบุ๊คก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องพิจารณาเสป็คเครื่องเช่นกัน ความเร็วซีพียู แรม ความจุของฮาร์ดดิสก์ต้องสูงๆ สิ่งสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือการ์ดเสียง เมื่ออัดเสียงต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีน้อยที่สุุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อหามิกเซอร์มาใช้งาน ภาพคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างวิดีโอ ไมโครโฟนและมิกเซอร์ขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน การเลือกซื้อแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว และการถ่ายวิดีโอนั้น ต้องพยายามให้มือนิ่งที่สุดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเส้นตรง เพื่อไม่ให้ภาพสั่นเวลาถ่ายภาพอุปกรณ์สำคัญๆ สำหรับสร้างวิดีโอช่วยสอน เช่น คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมสำหรับสร้างวิดีโอ มีไมโครโฟน กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นต้น

การสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอการสอน
การสร้างวิดีโอในปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายมากๆ ยิ่งเป็นการทำวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยิ่งทำได้ง่ายที่สุด ส่วนการผลิตวีดีโอแบบอื่นๆ คงต้องใช้กล้องดิจิตอลหรือกล้องวีดีโอซึ่งก็สามารถทำได้ไม่ยากเช่นเดียวกัน สำหรับโปรแกรมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะแยกเป็น 2 ประเภท คือโปรแกรมจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นวิดีโอ และโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ แต่ละแบบ มีโปรแกรมอะไรบ้าง เราจะไปหาคำตอบกันเลย !!!
1.โปรแกรมจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นวีดีโอ การสร้างลักษณะการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้ เมื่อทำการบันทึก โปรแกรมจะจับภาพการเคลื่อนไหวทั้งหมดในหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นภาพวิดีโอ พร้อมเสียงบรรยายของเรา เป็นรูปแบบการสร้างวิดีโอสอนที่ง่ายที่สุด ขอให้เสียงเพราะๆ ไว้ก่อน อย่างอื่นไม่มีปัญหา ตัวอย่างโปรแกรมเช่น Hypercam , Camtasia การใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำบทเรียน การสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเป็นการผลิตวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็สามารถต่อไมโครโฟน เปิดโปรแกรมจับภาพเป็นวิดีโอ และโปรแกรมที่ต้องการสอน จากนั้นเริ่มบันทึกเสียงได้เลย
การสร้างวิดีโอในลักษณะนี้ มีคำแนะนำดังนี้
1. การอธิบายแต่ละส่วน ให้ทิ้งระยะห่าง ให้ผู้เรียนได้มีเวลาหยุดพัก และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรานำเสนอในวิดีโอ
2. การเลื่อนเมาส์ ต้องเคลื่อนช้าๆ และเป็นเส้นตรง หรือเคลื่อนในแนวเฉียง ห้ามลากเมาส์สะบัดไปมา คนดูอาจรำคาญได้
3. การใช้เพลงบรรเลงประกอบ ขณะบันทึกเสียงจะช่วยให้วิดีโอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
กรณีที่เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะเตรียมสิ่งที่ต้องการสอนหรือนำเสนอ ทำเป็นไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint แล้วใช้โปรแกรมประเภทนี้จับภาพอีกทีก็ได้ เพราะเราสามารถพูดบรรยายไปตามหัวข้อที่จัดเรียงไว้ได้ตามต้องการ
2.โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ การสร้างลักษณะงานของโปรแกรมประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะใช้แก้ไขลักษณะของงานวิดีโอที่บกพร่อง โดยการตัดส่วนที่เสียหายออก เพื่อให้ไฟล์วิดีโอที่จะนำไปใช้งานมีความสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาดจากการบันทึกวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าการบันทึกวิดีโอสดย่อมเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ทุกคนไม่คาดคิด ดังนั้นการจะทำให้วิดีโอออกมาสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาด จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ Ulead video studio , Sony Vegas Adobe , Premiere Pro CS เป็นต้น เมื่อเราทำการตัดต่อวิดีโอได้สมบรูณ์แล้ว เรายังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบต่างๆได้ เช่น AVI , MPEG , WMV ฯลฯ ตามความพอใจของผู้ใช้งาน

(ที่มา http://www.vdolearning.com/video-camera/1190-video-based-learning.html)

วิดีโอ คืออะไร


วิดีโอ คืออะไร
วิดีโอ คือมัลติมีเดียที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงบรรยายได้ การนำเสนอวิดีโอมีหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอเพื่อการศึกษา วิดีโอเพื่อความบันเทิง ประโยชน์ของวิดีโอมีมากมาย นอกจากให้ความรู้ ให้ความบันเทิง ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน เช่น วิดีโอนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น
ชนิดของวิดีโอ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1.วิดีโออนาล็อก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า มีลักษณะการบันทึกข้อมูลที่ให้ความคมชัดต่ำกว่าวิดีโอแบบดิจิตอล วิดีโออนาล็อกจะใช้เทป VHS (Video Home System) หรือ Hi – 8   ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลจะทำให้ได้วิดีโอที่มีความคมชัดต่ำ
2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงด้วยการแปลสัญญาณคลื่นให้เป็นตัวเลข 0 กับ 1 คุณภาพของวิดีโอที่ได้จะมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมาก ทำให้สามารถ  บันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ หากผู้ใช้มีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น



คุณสมบัติของวิดีโอ
วิดีโอมีคุณสมบัติที่สำคัญ  3 อย่างได้แก่  Image , Audio , Video
1.Image  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 อย่างคือ
1.Width                คือความกว้างของภาพวิดีโอ (pixels)
2.Height               คือความสูงของภาพวิดีโอ (pixels)
2.Audio   ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3  อย่าง  คือ
1.Duration            คือช่วงเวลาของเสียง (00.00.00)
2.Bit Rate             คืออัตราการบีบอัดข้อมูลเสียง  (มีหน่วยเป็น kbps)
3.Audio  Format    คือรูปแบบการเข้ารหัสไฟล์เสียง ( เช่น .mp3 , .wma , wav)
3.Video   ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  4  อย่าง  คือ
1.Frame  Rate คือ ความเร็วในการแสดงผลภาพเคลื่อนไหว โดยมีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (Fps)
2.Data rate   คือ กรบีบอัดข้อมูลเสียงและภาพวิดีโอ  โดยมีตัวเลขบอกเป็นกิโลบิตต่อวินาที (Kpbs) หากผู้ใช้งานกำหนดค่านี้สูง จะทำให้คุณภาพของเสียงและภาพมีความคมชัดยิ่งขึ้น แต่ขนาดไฟล์ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย
3.Video  Sample  Size  การแสดงผลความละเอียดต่อพิกเซล  โดยมีหน่วยเป็นบิต  (bit)
4.Video  compression  เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของวิดีโอ และเป็นตัวกำหนดว่าวิดีโอนั้นจะใช้ฟอร์แมตใด


กล้อง VDO คืออะไร


กล้องวีดีโอคืออะไร

กล้อง วีดีโอเป็นเครื่องมือหลักในการทำสื่อโทรทัศน์ คุณภาพและราคารวมทั้งลูกเล่นต่างๆก็จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและจุดขายที่แต่ ละค่ายออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักๆแล้วที่เหมือนกันคือเพื่อบันทึกภาพ และกล้องวีดีโอที่เรียกว่า "โฮมยูส" หรือแบบ "แฮนดี้แคม" จะเหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้ การควบคุมและการสั่งการต่างๆจะออกแบบมาให้ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน


ประเภทของกล้องวิดีโอ
1.กล้องถ่ายวีดีโอแบบอนาล็อก  คือ กล้องที่บันทึกข้อมูลแบบความถี่ของสัญญาณ มีลักษณะคล้ายเส้นกราฟ ขึ้นและลง  มีรูปแบบของการบันทึกข้อมูลลงเทป
2.กล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล  มี 3 รูปแบบได้แก่
 2.1 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ VHS – เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทป
 2.2 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ 8 mm -เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบม้วนเทปขนาด 8 mm
   2.3 กล้องถ่ายวีดีโอระบบ Hi – เป็นกล้องวิดีโอทีมีการบันทึกในรูปแบบ ม้วนเทป ระบบ Hi8 คล้ายกับระบบ 8 mm แต่คุณภาพสูงกว่า


การใช้งานกล้องวิดีโอเพื่อให้เกิดประโยชน์
การเลือกใช้งานกล้องวิดีโอต้องเลือกใช้งานให้ตรงตามความถนัด และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้เช่น การใช้กล้องวิดีโอเพื่อการทำสารคดี  การบันทึกวิดีโองานเลี้ยงสังสรรค์   งานประเพณี เป็นต้น


เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอ
1.ประมาณค่างบประมาณในการซื้อ
2.วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เลือกกล้องให้ตรงกับงานที่ต้องการใช้  เช่น ใช้แบบพกพา ถ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา , ถ่ายกลางแดดธรรมดา หรือในที่มืด หรือถ่ายใต้น้ำ , ถ่าย เพื่อลง Youtube หรือ ถ่ายไว้ดูเล่น , ถ่ายแบบง่ายๆ หรือถ่ายแบบนักทำหนังมืออาชีพ
3.ดูค่าความละเอียด
ปัจจุบันนิยมใช้กล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอลมีทั้งแบบ SD (standard definition) และแบบ HD (high definition) สำหรับแบบ SD ราคาจะถูกกว่าแบบ HD  เพราะเหมาะสำหรับการถ่ายวิดีโอธรรมดาสำหรับดูด้วยคอมพิวเตอร์หรือทีวีแบบธรรมดา แต่สำหรับกล้องถ่ายดิจิตอลแบบ HD นั้นจะบันทึกภาพได้ด้วยความละเอียดที่สูงกว่าเพื่อแสดงบน HDTV ได้อย่างคมชัด ละเอียด สมจริง



4.เลือกรูปแบบการจัดเก็บภาพและเสียง
มีการบันทึกเสียงที่ชัดเจน สามารถปิดเสียงโดยรอบได้ ขณะบันทึกช่องของเสียงและการเคลื่อนไหวของภาพ ตรงกัน และชัดเจน เก็บเสียงได้โดยรอบ


5.ความสามารถพิเศษของกล้อง
ความสามารถพิเศษที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของรุ่นเพื่อแยกความแตกต่าง ทำให้ราคาของกล้องต่างกันมีดังนี้
Optical zoom : เพื่อให้ขยายภาพได้อย่างชัดเจน ขนาดการซูมจึงสำคัญ กล้องบางรุ่นซูมได้ถึง 48x
Image Stabilization : ช่วยป้องกันภาพสั่น จากการถือกล้องสั่น โดยเฉพาะในขณะซูมภาพระยะไกล
Photo Feature : บางรุ่นสามารถใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง และสามารถปรับการถ่ายภาพนิ่งแบบต่างๆ ได้
Audio Recording : กล้องถ่ายวิดีโอบางรุ่น เพิ่มความสมจริงให้กับระบบการอัดเสียง ด้วยระบบการอัดแบบ  Dolby Digital surround 5.1 ที่ให้คุณเปิดเสียงฟังจากชุดโฮมเธียร์เตอร์ของคุณได้อย่างสมจริง
คุณภาพของกล้องวิดีโอที่ได้มาตรฐาน คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อกล้อง
Manufacturer                  ชื่อผู้ผลิต
Model Name                    ชื่อรุ่น
Dimensions                     ขนาดของกล้อง
Weight                           น้ำหนัก
Format                             รูปแบบของกล้อง
Image Device (CCD)        รายละเอียด CCD
Lines of Resolution           จำนวนเส้นความละเอียด
Still Image Resolution       ขนาดความละเอียดของภาพนิ่ง
Lens Detail                   รายละเอียดของเลนส์
Optical Zoom                จำนวนเท่าของการซูมแบบออฟติคอล
Digital Zoom                 จำนวนเท่าของการซูมแบบดิจิตอล
lllumination Rating         ค่าต่ำสุดสำหรับการถ่ายวิดีโอในที่มืด
Viewfinder                     รูปแบบช่องมองภาพ
LCD screen                     รายละเอียดของจอ LCD
Storage Card                   รูปแบบการ์ดความจำ
Image Stabilizer              ฟังก์ชั่นป้องการสั่นไหวของกล้อง
Audio Record                  รูปแบบการบันทึกเสียง
Speacial Effects / Feature        เอฟเฟ็กต์และฟังก์ชั่นพิเศษ
Hot Shoe                            ช่องต่ออุปกรณ์เสริม เช่น แฟรช, วิดีโอ
Input                                   ช่องต่ออุปกรณ์เข้าตัวกล้อง
Output                                 ช่องต่ออุปกรณ์ออกจากตัวกล้อง
Battery type                         ประเภทของแบตเตอรี่
Price                                   ราคา
Warranty                            การประกัน

กล้องถ่ายภาพ คืออะไร


กล้องถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร


ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

  • เลนส์ - มีหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ เพื่อให้ตกลงบนฟิล์มถ่ายภาพ CCD หรือ CMOS ของกล้องได้
  • ตัวถัง (Body) - ส่วนใหญ่จะทำจากอะลูมิเนียม โลหะผสมแมกนีเซียม หรือ พลาสติกอัดแข็ง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปร่างจะแบ่งออกตามประเภทของกล้อง
  • Image sensor - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น
  • แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)
  • ปุ่มควบคุม - แล้วแต่รุ่นและผู้ผลิต ปุ่มเหล่านี้จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้อง
  • แฟลช - แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ

กล้องถ่ายรูปแบบต่าง ๆ

  • กล้องกลาง หรือ มีเดียมฟอร์แมท (Medium Format) จะใช้ฟิล์มแบบ 120 หรือ 220 ความกว้างของฟิล์ม 6 เซนติเมตร ความยาวของฟิล์มแล้วแต่รุ่นของกล้อง ขนาดที่นิยมคือ 4.5 เซนติเมตร 6 เซนติเมตร หรือ 7 เซนติเมตร และขนาดยาวพิเศษ 9 เซนติเมตร หรือ 19 เซนติเมตร มีทั้งกล้องแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์ กล้องแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว และกล้องแบบสะท้อนภาพเลนส์คู่ ในปัจจุบันมีการใช้ตัวรับภาพแบบดิจิตอล (Digital Back) แทนฟิล์มด้วย
  • กล้องของเล่น หรือ กล้องทอย (Toy) เป็นกล้องถ่ายรูปราคาถูกที่ใช้ฟิล์ม มักจะผลิตจากพลาสติก ทั้งส่วนตัวกล้องและเลนส์ และไม่มีระบบไฟฟ้าอื่นๆ นิยมใช้เลนส์มุมกว้างทางยาวโฟกัสเดียว ระยะโฟกัสตายตัว ไม่มีระบบหาระยะชัด
  • กล้องบ๊อกซ์
  • กล้องคอมแพค
  • กล้องแบบมีเครื่องหาระยะ (Range Finder)
  • กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single Lens Reflection) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้อง SLR หากเป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวที่ใช้ตัวรับภาพแบบดิจิตอล จะเรียกว่า Digital SLR หรือ DSLR มีทั้งกล้องขนาดเล็ก (กล้อง 35 มม.) และกล้องขนาดกลาง
  • กล้องสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin Lens Reflection) เป็นกล้องขนาดกลาง ใช้ฟิล์มขนาด 120 หรือ 220 มีเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งสำหรับดูภาพ และอีกชุดหนึ่งสำหรับบันทึกภาพ
  • กล้องหนังสือพิมพ์
  • กล้องใหญ่ (Large Format) เป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบแผ่นขนาด 4x5 นิ้ว 6x7 นิ้ว หรือ 8x10 นิ้ว
  • กล้องดิจิทัล


(ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/กล้องถ่ายภาพ)